Tuesday, November 22, 2011

Pavlova ขนมสำหรับคนรักไข่ขาว :)


กลับมาที่เรื่องไข่อีกแล้วค่ะ นัทชอบเป็นการส่วนตัว อิอิ






แต่คราวนี้ นัทไม่ได้มาพูดถึงไข่ต้มแล้วนะคะ
แต่จะมาพูดถึง "ขนม" จาก "ไข่ขาว"


ที่มีชื่อว่า Pavlova (พาฟโลวา) ค่ะ






Pavlova เป็นขนมหวานที่มีฐานเป็นเมอแรงค์ (meringe)
โดยเมอแรงค์จะมีความกรอบด้านนอกและนุ่มละมุนด้านใน
เสิร์ฟพร้อมกับวิปครีมและผลไม้สด


หิวเลย 55555




ที่บอกว่าเป็นขนมจาก "ไข่ขาว" เพราะ ส่วนผสมหลักของ Pavlova
คือ ไข่ขาว ค่ะ


เวลาตีไข่ขาวไปเรื่อยๆ เราจะเห็นไข่ขาวเพิ่มปริมาณได้มากขึ้นถึง 8 เท่า
8 เท่าเลยนะคะ!!! โอ้ว มันเยอะมากๆๆๆ
ไข่ขาวที่ตีแล้วจะมีลักษณะเป็นโฟม








อาหารที่ใช้คุณสมบัติการเพิ่มปริมาณของไข่ขาว
มีมากมาย ไม่ใช่มีเฉพาะ Pavlova นะคะ


ยกตัวอย่างเช่น Souffle และ เค้กนางฟ้า เป็นต้น










ว่าแต่...ทำไมไข่ขาวถึงเพิ่มปริมาณและกลายเป็นโฟมได้หว่า?


เรื่องนี้มีคำตอบค่ะ ^_^


ไข่ขาวประกอบไปด้วยน้ำ 90% และโปรตีนอีก 10%
โปรตีนในไข่ขาวก็คือ กรดอะมิโนเส้นยาวๆที่ขดไปขดมาและพับซ้อน
จนกลายเป็นลูกบอลกลมๆ



เวลาเราตีไข่ขาว 
โปรตีนที่เกิดจากการพับซ้อนกันของกรดอะมิโนก็จะเริ่มคลายตัวออก
ทำให้เราพบเจอกับ "กรดอะมิโน" ที่หลบซ่อนอยู่ในใจกลางของลูกบอล

กรดอะมิโนนั้นมี 2 ประเภทด้วยกันค่ะ 
  1. กรดอะมิโนที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic)
  2. กรดอะมิโนที่ชอบน้ำ (hydrophilic)



การตีไข่ทำให้เรานำอากาศเข้ามาในส่วนผสมด้วย
และเพราะอากาศที่เข้ามานี่เอง ทำให้น้ำกับโปรตีนไข่ 
วิ่งหาที่ที่เหมาะสมกับตัวเองกันใหญ่ :)

เนื่องจากน้ำนั้นรักกันมาก เพราะมีพันธะไฮโดรเจนต่อกันและกัน
น้ำจึงอยู่ด้วยกันอย่างสามัคคีสุดๆ 55


น้องกรดอะมิโนผู้ชอบน้ำ (hydrophilic) ก็อดไม่ได้ที่จะไปอยู่ใกล้ๆพี่น้ำด้วย




ฝ่ายน้องอะมิโนผู้ไม่ชอบน้ำ (hydrophilic) ก็ไม่มีที่อยู่อื่น
นอกจากพื้นผิวของของเหลวที่สัมผัสกับอากาศ


และด้วยเหตุนี้นี่เอง พื้นผิวของอากาศจึงเต็มไปด้วยประชากร
กรดอะมิโน (โปรตีนไข่)

ด้วยโปรตีนไข่บวกกับน้ำที่ห่อหุ้ม ฟองอากาศจึงอยู่คงตัวและไม่
"ป๊อป" หายไป เหมือนเวลาเราตีน้ำเปล่าค่ะ :)


ความสำคัญของโปรตีนไข่ ไม่ได้มีเฉพาะการทำให้ฟองอากาศอยู่ตัวนะคะ
เวลาเรานำขนมจากไข่ขาว (เช่น เมอแรงค์) เข้าไปอบในเตาอบ
โปรตีนไข่ที่มีชื่อว่า ovoalbumin ยังช่วยทำให้ขนมนั้นแข็งตัวด้วย ^_^


โปรตีนไข่นี่ สุดยอดจริงๆ ! :D



แล้ว... ทำไม Pavlova ถึงชื่อว่า Pavlova อ้ะ?

ขนมชนิดนี้ถูกตั้งชื่อตามนักบัลเล่ต์ชาวรัสเซียผู้มีชื่อเสียงมาก
Anna Pavlova ค่ะ 
Anna เกิดที่ St. Petersberg ในปี ค.ศ.1881
ช่วงเวลาที่เธอยังมีชีิวิตอยู่ ทุกคนต่างก็รักเธอและการเต้นรำของเธอมาก
ขนม Pavlova จึงถูกทำขึ้น เพื่อเป็นการให้เกียรติ Anna ค่ะ

เพราะอย่างนี้ขนม Pavlova จึงดูอ่อนหวาน นุ่มนวล
เหมือนการเต้นบัลเล่ต์นั่นเอง *o*



ว่าแล้ว เราก็มาทำ Pavlova ไปพร้อมๆกันดีกว่าค่ะ :)))



ส่วนผสม

  • ไข่ขาว 4 ฟอง ที่อุณหภูมิห้อง

สาเหตุที่ต้องเป็นอุณหภูมิห้อง:

ไข่ขาวที่อุณหภูมิห้อง จะสามารถถูกตีจนเป็นโฟมได้ง่ายกว่าไข่ขาวที่ถูกแช่เย็นค่ะ
  • น้ำตาลทรายขาว 2/3 ถ้วยตวง
  • แป้งข้าวโพด 4 ช้อนชา
  • น้ำส้มสายชู 1/2 ช้อนชา
  • กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  • วิปปิ้งครีม 1 ถ้วยตวง
  • ผลไม้สดประมาณ 1 ถ้วยตวง (สูตรดั้งเดิมจะใช้ กีวี และสตรอเบอร์รี่ค่ะ)
อุปกรณ์

  • ถุงบีบและหัวบีบครีม (ในกรณีที่ต้องการความสวยงามค่ะ)
  • กระดาษไข
  • ถาดอบขนม
  • ชามสำหรับตีส่วนผสม (แก้ว, สแตนเลส ดีที่สุดค่ะ)
  • ที่ตีไข่ (ทำให้เกิดอากาศในไข่ขาวได้มาก)


ทำไมไม่ใช้ชามพลาสติก?:
ไขมันจะเข้าไปขัดขวางการเกิดโฟมที่ดีของไข่ขาวค่ะ
และไขมันก็ชอบไปติดกับพลาสติกซะด้วย

ไม่ว่าเราจะทำความสะอาดชามพลาสติกของเราดีแค่ไหน
ไขมันบางส่วนก็ยังคงติดกับชามอยู่ดีค่ะ

เพราะฉะนั้นชามแก้ว ชามสแตนเลส จะสะดวกกว่าและดีกว่า
สำหรับเราที่ต้องการโฟมไข่ขาวที่ฟูฟ่องเพื่อ Pavlova แสนอร่อย :)

ไข่แดง ก็มีไขมันอยู่เช่นกันนะคะ
เวลาแยกไข่แดงกับไข่ขาว ต้องระวังไม่ให้ไข่แดงไปผสมกับไข่ขาวนะคะ
ไม่งั้น ไข่ขาวก็จะไม่เป็นโฟมแบบที่เราต้องการนา...




ขั้นตอนการทำ



  • อุ่นเตาอบที่อุณหภูมิ 250 องศาฟาเรนไฮต์ (120 องศาเซลเซียส)
  • ใส่ไข่ขาวลงในชาม ตามด้วยน้ำส้มสายชู ตีจนขึ้นฟู

ทำไมต้องใส่น้ำส้มสายชู?:
การใส่น้ำส้มสายชู (หรือกรดอื่นๆ) ทำให้โฟมลดการสูญเสียน้ำและการยุบตัว เนื่องมาจากโปรตีนสร้างพันธะมากเกิน

การใส่น้ำส้มสายชู ทำให้เราเพิ่มประจุบวกให้กับส่วนผสม ซึ่งประจุบวกนี้จะไปจับคู่กับโปรตีนที่เพิ่งเสียประจุบวก ทำให้โปรตีนมีค่าเป็นกลางและไม่สร้างพันธะเพิ่ม






  • หลังจากไข่ขาวขึ้นฟูแล้ว ค่อยๆใส่น้ำตาลลงไป และตีให้ไข่ขาวตั้งยอด


ทำไมไม่ใส่น้ำตาลตั้งแต่ต้น?:
การใส่น้ำตาลตั้งแต่ต้น จะทำให้เราต้องใช้เวลาเป็นสองเท่าในการทำให้ไข่ขาวเป็นโฟม เพราะโมเลกุลของน้ำตาลทำให้โปรตีนไข่ใช้เวลานานขึ้นในการสร้างพันธะ


เวลาอบขนม น้ำตาลจะไปผสมกับน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำระเหยออกไปในรูปของไอน้ำ การชะลอการนะเหยของน้ำนี้ ทำให้โฟมไข่ขาวคงตัว จนกระทั่งแข็งค่ะ :)





  • เมื่อไข่ขาวตั้งยอดแล้ว ใส่แป้งข้าวโพด และวานิลลาลงไป คนอีก 2-3 รอบ ห้ามเกิน!
ถ้าเกินแล้วแก้ได้มั้ย?:
ในกรณีที่ยังไม่ได้ส่วนผสมอื่นเพิ่ม สามารถใส่ไข่ขาวเพิ่มอีก 1 ฟอง 
และตีจนโฟมกลับมาตั้งยอดดีเหมือนเดิมได้ค่ะ

  • วาดวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว ลงบนกระดาษไขเพื่อที่จะสร้างฐานเมอแรงค์ของ Pavlova พลิกด้านกระดาษไข และวางลงบนถาดอบขนม
  • ใส่โฟมไข่ขาวลงไปในถุงบีบที่ใส่หัวบีบเรียบร้อยแล้วประมาณครึ่งถุง บีบโฟมลงบนกระดาษไขที่วาดไว้แล้ว ถ้าไม่มีถุงบีบให้ใช้ช้อนตักโฟมทำเป็นฐานเมอแรงค์ ให้ฐานโค้งเว้าตรงกลางเหมือนชาม
  • สำหรับคนที่มีถุงบีบ เมื่อทำวงกลมเสร็จแล้ว ให้บีบครีมรอบๆวงกลม ทีละจุดๆ และสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเมอแรงค์มีลักษณะเหมือนชามก้นลึก
  • ใส่ฐานเมอแรงค์ในเตาอบ อบเป็นเวลา 45 นาที หลังจากนั้นให้ปิดไฟเตาอบ แล้วทิ้งฐานเมอแรงค์ไว้ด้านในเตาอีกอีก 1 ชั่วโมง หรือ จนเมอแรงค์เย็นสนิท (ทิ้งไว้ข้ามคืนก็ได้ค่ะ)
  • ระหว่างรอเมอแรงค์เย็น หั่นผลไม้ให้เป็นชิ้นตามที่ต้องการ
  • นำฐานเมอแรงค์ออกจากเตาอบ ต้องมั่นใจว่าฐานเย็นสนิท ถ้ายังอุ่นอยู่ ให้ทิ้งไว้ในเตาอบต่อ และรออีกสักพักค่ะ
  • ตีวิปปิ้งครีมจนตั้งยอด
  • เทวิปครีมลงไปในฐานเมอแรงค์ ตกแต่งผลไม้ที่ด้านบน
  • เสิร์ฟ Pavlova ได้ค่ะ :) ระวังอย่าให้ฐานเมอแรงค์เปียกเพราะวิปครีมที่ละลายนะคะ :P




ไอ้หยา! ฐานเมอแรงค์แตก! จะแก้ยังไงดีคะ T^T?:


ถ้าฐานเมอแรงค์แข็งเกินไป จนแตก ก็อย่าเครียดไปนะคะ เรายังสามารถทำขนมหวานแสนอร่อยได้!

แค่หั่นผลไม้ที่คุณต้องการจะวางไว้ด้านบน Pavlova ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ตีวิปปิ้งครีมจนตั้งยอด ทำฐานเมอแรงค์ให้แตกเป็นชิ้นใหญ่ๆ ผสมวิปครีม ฐานเมอแรงค์ และผลไม้สดเข้าด้วยกัน แล้วเรียกมันว่า "Ambrosia" ค่ะ ^_^


หมายเหตุ: Ambrosia = อาหารที่แสนอร่อยค่ะ 55555




นัทขอให้ทุกคนมีความสุขกับพาฟโลวา
เหมือนที่นัทมีความสุขกับการเขียนบล็อกนะคะ ^_^







Reference Lists

http://en.wikipedia.org/wiki/Pavlova_(food)
http://www.exploratorium.edu/cooking/eggs/pavlova-pop.html#foam
http://www.exploratorium.edu/cooking/eggs/recipe-pavlova.html#
http://etdict.com/index.php?text=ambrosia

Tuesday, November 15, 2011

เรื่องราวของเหล่าแป้ง


ไม่นานมานี้ มีโอกาสทำ "ขนมปังไมโล" กับคุณพ่อค่ะ
แต่แป้งขนมปังดั๊นนนนมาหมดเอากลางทางซะได้ 







ด้วยความพยายามอันแรงกล้า

บวกกับความอยากทานขนมปังมากๆ เลยใช้แป้งอเนกประสงค์กับแป้งเค้กแทน

ผ่านไปสามชั่วโมงครึ่ง ขนมปังไมโลที่เฝ้าฝัน ก็สำเร็จค่ะ



แต่ เอ... ทำไม ขนมปังเรา รสชาติไม่เหมือนขนมปังเลยล่ะ?


แป้งด้านนอกกรุบกรอบเหมือนคุกกี้ ขณะที่ด้านในกลับฟูๆ นุ่มๆ เหมือนเค้ก

ไม่มีความเหนียว และ texture แบบขนมปังแต๊ๆเลยแม้แต่น้อย ...






เกิดอะไรขึ้นกันแน่?!!
เราใช้แป้งแทนกันไม่ได้หรือนี่ ???


ด้วยความสงสัยบวกกับความอยากทานขนมปังอันมากล้น 
(อันหลังนี่เกี่ยวอะไรด้วยเนี่ย? -_-")





Food For Fun วันนี้จึงขอนำเสนอ 

"เรื่องราวของเหล่าแป้ง"  ค่ะ


ไปหาข้อมูลกันมาเลยทีเดียว =_____="




แป้งที่เราจะนำมาเปรียบเทียบกันในวันนี้ ได้แก่...



ก่อนที่เราจะมาเปรียบเทียบแป้งแต่ละชนิด มาดูกันก่อนดีกว่าค่ะ
ว่า "แป้ง" นั้น คืออะไรกันแน่?





แป้ง คือ  ผงที่ได้จากการนำธัญพืชไปบดค่ะ

แป้งส่วนมากจะทำมาจากข้าวสาลี (wheat) แต่ธัญพืชชนิดอื่นๆ 
ก็นำมาทำเป็นแป้งได้เหมือนกันนะคะ
เช่น ข้าว, ข้าวโอ๊ต, ข้าวโพด, ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ


นอกจากชนิดของธัญพืช จะทำให้แป้งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปแล้ว
ส่วนของเมล็ดที่นำมาบดเป็นแป้งก็ทำให้แป้งแตกต่างกันด้วยค่ะ


เราลองมาดูส่วนประกอบของเมล็ดไปพร้อมๆกันน้า


จะเห็นได้ว่า เมล็ดจะประกอบไปด้วยสามส่วน คือ

  1. Bran (รำข้าว) : เปลือกนอกสุดของเมล็ด ถ้านำไปบด จะทำให้แป้งมีสีน้ำตาล พื้นผิวหยาบๆ และมีไฟเบอร์ค่ะ
  2. Endosperm : ส่วนแป้งของเมล็ดค่ะ ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันนิดหน่อย แป้งขาวทั่วๆไป จะใช้ส่วน endosperm นี้เพียงอย่างเดียว
  3. Germ : ส่วนนี้สามารถนำไปปลูกต่อได้ค่ะ อุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารต่างๆมากมาย  แป้งที่มี Germ จะมีวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์สูง




สำหรับคนที่ทำขนมปังบ่อยๆ อาจจะเคยได้ยินคำว่า Gluten บ้างใช่มั้ยคะ?

Gluten (กลูเต็น) เป็นโปรตีนที่อยู่ใน endosperm ค่ะ 

กลูเต็นเป็นสิ่งที่ทำให้แป้งมีความยืดหยุ่น แข็งแรง ให้สัมผัสการเคี้ยวที่หนุบหนับ 
เช่น ขนมปังที่ใช้ยีสต์ เส้นพาสต้า แล้วก็แป้งพิซซ่า




ตอนนี้ทุกคนพอมีพื้นฐานความรู้เรื่อง "แป้ง" กันไปบ้างแล้ว

เรามาเปรียบเทียบเจ้าแป้งสามชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ ว่าตกลงแล้วมันแตกต่างกันยังไงเนี่ย?





สิ่งที่ทำให้แป้งสามชนิดนี้แตกต่างกันก็คือ..............(ลุ้นๆๆๆ)



"Gluten" นั่นเอง เอง เอง...

อย่างที่เรารู้กันว่ากลูเต็นเป็นโปรตีนที่พบในส่วน endosperm ของเมล็ด

เวลาเรานวดแป้ง กลูเต็นก็จะสร้างโครงสร้างที่
สามารถเก็บแก๊ซที่เกิดจากยีสต์ไว้ด้วย



เนื่องจาก กลูเต็น เป็นโปรตีน และโปรตีนจะแข็งตัวเวลาได้รับความร้อน
เช่น โปรตีนจากไข่

ขนมอบของเราจึงคงตัว เพราะกลูเต็นค่ะ


ถ้าไม่ชัวร์
เราลองมาดูขนมปังที่อบแล้วดีกว่าค่ะ ว่าเกิดอะไรขึ้นกันหนอ?




ภาพบนเป็นการซูมดูขนมปัง 2 เท่าค่ะ
ส่วนภาพล่างเป็นการซูม 100 เท่า



จากภาพบนจะเห็นได้ค่ะว่ามีช่องอากาศซึ่งเกิดขึ้นจากการกักเก็บแก๊ซของกลูเต็น
ทำให้เราได้ขนมปังนี่มีความฟูนุ่ม


ส่วนภาพล่าง เราจะเห็นว่าแป้งฝังตัวกันเป็นแนวโค้งมนตามพื้นผิวของกลูเต็น
การกักเก็บแก๊ซที่เกิดขึ้นจากยีสต์ของกลูเต็น และแข็งตัวเวลาถูกความร้อนจากการอบ

ทำให้กลูเต็น ช่วยสร้างโครงสร้างของขนมปังนั่นเองงงง :)



ชื่อเรียกที่ควรรู้


แป้งที่มีปริมาณกลูเต็นมากเพราะทำมาจากธัญพืชที่แข็งและมีปริมาณโปรตีนสูง
เรียกว่า "Strong flours"

ส่วนแป้งที่มีปริมาณกลูเต็นน้อย เพราะทำมาจากธัญพืชที่อ่อนและมีปริมาณโปรตีนน้อย
เรียกว่า "Weak flours" ค่ะ



ช่วงเวลาแห่งคำถามค่ะ


ในบรรดาแป้งสามชนิดนี้ แป้งที่เดินทางสายกลาง มีปริมาณกลูเต็นกลางๆ
ไม่ strong และก็ไม่ weak คือแป้งอะไรน้า ...ลองเดาสิคะ?



ถ้าคุณตอบว่า


"แป้งอเนกประสงค์" ก็ถูกต้องนะคร้าบบบบบบบบ!!!


แป้งอเนกประสงค์นี้ถูกกำหนดชะตาชีวิตมาให้เดินทางสายกลาง
คือมีปริมาณกลูเต็นปานกลาง ประมาณ 12%

ด้วยคุณสมบัติ "กลางๆ" นี้เองทำให้ แป้งอเนกประสงค์
กลายเป็นแป้งที่ทำของได้สารพัดชนิด ตั้งแต่ ขนมปัง ยันขนมเค้ก (สมชื่อมากๆ)




แต่เชฟและผู้เชี่ยวชาญการทำขนมส่วนมาก เค้าจะไม่ใช้แป้งอเนกประสงค์กันนะคะ
เค้าจะใช้ แป้งเฉพาะชนิดมากกว่า เช่น จะทำเค้ก ก็ใช้แป้งเค้ก
ทำขนมปังก็ใช้แป้งขนมปัง ไปเลยซะมากกว่า

ส่วนตัวเจ้าของบล็อกนั้น ใช้ตามมีตามเกิดค่ะ 555

แป้งอเนกประสงค์ที่ร่อนแล้ว 1 ถ้วย
จะมีน้ำหนักประมาณ 4.5 ออนซ์ หรือประมาณ 125 กรัม







ลองเดาแป้งที่แข็งแรง บึกบึน กลูเต็นสูง กันบ้างดีกว่า??
คิดว่าเป็นแป้งอะไรเอ่ย?



ถ้าคุณตอบว่า.......


"แป้งขนมปัง" ล่ะก็ เป็นคำตอบที่ถูกต้องนะคร้าบบบบบบ!!!


แป้งขนมปังนั้น จัดว่าเป็น "strong flour" ค่ะ
ด้วยปริมาณกลูเต็นที่สูงประมาณ 13-14% 

แป้งขนมปังจะมีสัมผัสที่สากๆ และสีขาวนวลๆ
เหมาะสำหรับการทำขนมปัง โดพิซซ่า เป็นต้น (นี่ก็เหมาะสมกับชื่ออีกแล้ว)


แป้งขนมปัง 1 ถ้วย จะมีน้ำหนักประมาณ
5 ออนซ์ หรือประมาณ 140 กรัมค่ะ




ของอย่างนี้ไม่ต้องเดา ก็พอจะตอบได้แล้วใช่มั้ยคะ ว่า

แป้งเค้ก ของเรา ต้องเป็น "weak flour" แหงๆเลย (เพราะเหลืออยู่อันเดียว)



ซึ่งก็ถูกต้องแล้วค่า!!!

แป้งเค้กจัดว่าเป็น "weak flour" เพราะมีปริมาณกลูเต็นเพียงแค่  7.5 - 9% เท่านั้น
ปริมาณกลูเต็นในแป้งเค้กนั้น น้อยเพราะว่า แป้งเค้กทำมาจากข้าวสาลีที่มีความอ่อนนุ่ม

เพื่อให้ได้ผิวสัมผัสที่ละเอียด 
จะสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างแป้งเค้กกับแป้งขนมปังได้อย่างชัดเจน 

แป้งเค้กจะละเอียดกว่า และขาวกว่าค่ะ

(ตอนเราทำขนมปังไมโลนั่น ก็ไม่สังเกตเลยเนอะ =_=" เอ่อออม)


เพราะผิวสัมผัสที่ละเอียดกว่านั่นเอง ทำให้แป้งเค้ก เหมาะสำหรับการทำเค้ก
ที่ต้องการความนุ่มละมุนลิ้น (สมชื่ออีกแล้วค่ะ T_T)




แป้งเค้กที่ร่อนแล้ว 1 ถ้วย จะมีน้ำหนักประมาณ
3.5 ออนซ์ หรือประมาณ 99 กรัมค่ะ




ว่าแต่ ถ้าเกิดเราอยากทำเค้ก หรือขนมปังมากๆๆๆ แต่แป้งมันหมด
เราสามารถใช้แป้งอเนกประสงค์แทนได้มั้ยอะคะ?


คำตอบคื๊อ...

แต่เนื่องจากปริมาณกลูเต็นที่น้อยกว่า (เล็กน้อย) ขนมปังที่ได้อาจจะมีคุณภาพ
สู้ขนมปังจากแป้งขนมปังโดยตรงไม่ได้นะคะ


ในกรณีที่ไม่มีแป้งเค้ก แต่อยากทำเค้ก สามารถใช้แป้งอเนกประสงค์ 3/4 ถ้วย
บวกกับ แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะได้ค่ะ

เนื่องจากแป้งข้าวโพดเป็นแป้งที่ไม่มี gluten 

การผสมมันเข้ากับแป้งอเนกประสงค์
จะช่วยทำให้ปริมาณ gluten โดยเฉลี่ยน้อยลง เหมาะสมกับการทำเค้กค่ะ :)



แต่อย่าได้คิดเอาแป้งเค้กไปแทนแป้งขนมปังเชียวนะค้า 
(ความสามารถเฉพาะตัวเจ้าของบล็อก ไม่ควรลอกเลียนแบบอย่างยิ่ง)

เพราะปริมาณกลูเต็นมันต่างกันเหลือเกินนนนนนนนน

มาถึงจุดนี้ นัทก็ไม่แปลกใจแล้วค่ะ ว่าทำไมขนมปังไมโล มันถึงรสชาติเหมือนเค้ก

ก็เล่นเอาแป้งเค้กไปแทนแป้งขนมปังนี่นา 555555555






สงสัยเรื่องนึง นี่ได้คำตอบมายาวพอสมควรเลยนะคะ
เรื่องราวของเหล่าแป้ง ก็เป็นอีกหนึ่งในเรื่องที่สงสัยค่ะ =___="""


หวังว่าเนื้อเรื่องในวันนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ
และอย่าให้ "ชนิดของแป้ง" เป็นอุปสรรคในการทำขนมของคุณค่ะ :))))






Reference Lists

http://foodreference.about.com/od/Ingredients/a/A-Guide-To-Flour.htm
http://www.erisflourmills.com/textDetail.aspx?TextID=57&m=5
http://culinaryarts.about.com/od/bakingdesserts/p/wheatflour.htm
http://culinaryarts.about.com/od/bakingdesserts/p/gluten.htm
http://www.exploratorium.edu/cooking/bread/magnifier.html
http://www.exploratorium.edu/cooking/bread/index.html#
http://www.joyofbaking.com/flour.html